แนวทางการจัดการน้ำเสียในชุมชน
มลพิษทางน้ำ หรือ น้ำเสีย คือ ภาวะของน้ำที่มี
การปนเปื้อนของสารหรือสิ่งปฏิกูลที่ไม่พึง
ปรารถนาปนอยู่ การปนเปื้อนของสิ่งสกปรก
เหล่านี้ทำให้คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไปจน
อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์
ได้ และยังก่อให้เกิดอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บ
ต่อผู้ใช้น้ำเสียนั้น โดยแหล่งที่มาของมลพิษทาง
น้ำ ส่วนใหญ่มาจาก น้ำเสียของแหล่งชุมชน
(Domestic Wastewater)
น้ำเสียจากชุมชนส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรม
การใช้นำของผู้ที่พักอาศัยภายในอาคาร
บ้านเรือน เช่น การอาบน้ำชำระล้างร่างกาย
การขับถ่าย การประกอบอาหาร การล้าง
ภาชนะ การซักล้าง เป็นต้น ซึ่งมีอัตราการไหล
ของน้ำเสีย ปริมาณ และลักษณะน้ำเสียที่
แตกต่างกันตามกิจกรรมต่างๆ โดยปริมาณน้ำ
เสียที่ปล่อยทิ้งจากบ้านเรือนจะมีค่าประมาณ
ร้อยละ ๘๐ ของปริมาณน้ำใช้หรืออาจ
ประเมินได้จากจำนวนผู้อยู่อาศัยในบ้านเรือน
สารอินทรีย์ เช่น สิ่งขับถ่ายหรือสิ่งปฏิกูลจาก
มนุษย์และสัตว์ ซากพืช ซากสัตว์ เศษอาหาร
เศษผักผลไม้ เศษใบไม้ เป็นต้น ทำให้คุณภาพน้ำ
เสื่อมโทรมเกิดการเน่าเสีย และมีกลิ่นเหม็น
น้ำมันและไขมัน เนื่องจากน้ำมันจะลอยเป็น
ฟิล์มบนผิวน้ำขัดขวางการแลกเปลี่ยนถ่ายเท
ออกซิเจนระหว่างน้ำและอากาศ ส่งผลต่อ
คุณภาพน้ำ และเป็นพิษต่อสัตว์และพืชที่อาศัย
อยู่ในแหล่งน้ำ รวมทั้งส่งผลต่อระบบนิเวศทางน้ำ
เชื้อโรค จุลินทรีย์ซึ่งสามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อ
หรือโรคติดเชื้อได้ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย โปรโตซัว
ก่อให้เกิดการแพร่กระจายโรคต่างๆสู่มนุษย์และ
สัตว์
แนวทางการจัดการน้ำเสียจากบ้านเรือน
แนวทางที่ 1 ชุมชนที่ยังไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย รวมของชุมชน โดยบ้านเรือนแต่ละหลังควรมีการ
บำบัดน้ำเสียของตัวเองด้วยการบำบัดน้ำเสีย ขั้นต้น ด้วยบ่อดักไขมันและบ่อเกรอะ และตาม
ด้วยระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็ก เพื่อให้น้ำทิ้งมี คุณภาพดีขึ้นก่อนปล่อยเข้าท่อระบายน้ำ
สาธารณะ หรือ บ่อซึมลงดิน
แนวทางที่ 2 กลุ่มชุมชนใช้ระบบบำบัดน้ำ เสียรวมแบบกลุ่มอาคาร (Cluster) โดยกลุ่ม บ้านเรือนรวมหลายหลัง
มีการบำบัดน้ำเสีย ขั้นต้นด้วยบ่อดักไขมันและบ่อเกรอะแต่ละ หลัง แล้วส่งน้ำเสียเข้าท่อรวบรวมน้ำเสียไป
บำบัดที่ระบบบำบัดน้ำเสียรวมแบบกลุ่ม อาคาร (Cluster) ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ สาธารณะ